วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

ข่าวด่วน

คุณหมอฟ้าทิวากร บำรุงรส โทรมาหารือว่างานเลี้ยงตรงกับตรุษจีน เพื่อนๆจากเขต๖นครสวรรค์ ติดภาระกิจครอบครัวไม่ได้มางานพบปะสังสรรค์แน่นอน ขอเลื่อนวันงานจะได้ไหม ตอบเพื่อนๆว่ามีโอกาสเลื่อนได้ขอหารือกันหลายๆคนก่อนแล้วจะแจ้งให้ทรายทั้งทางจดหมายและเวบไซต์นี้ครับ ตามใจเพื่อนๆส่วนใหญ่อยู่แล้วครับ อยากให้เพื่อนมากันให้ครบจะได้มาเล่าความหลังและฟังประสบการณ์ใหม่ๆที่ออกไปอยู่หน่วยงานอื่นๆ และไปทำงานส่วนตัว และที่สำคัญครอบครัวแม่บ้านและลูกๆก็จะได้รู้จักกันด้วย ถามว่าตอนนี้ใครได้เป็นปู่เป็นตากันบ้าง เรามาหาคำตอบกันในวันเลี้ยงครบรอบ 26 ปี ที่เชียงรายนะครับภาพยามเช้าบริเวณคุ้งน้ำกกที่ธรรมชาติรีสอร์ท

2 ความคิดเห็น:

กองสาธารณสุขฯเทศบาลเมืองชุมแสง กล่าวว่า...

น่าสนใจครับ..ตกลงจัดงานวันใดแน่
นายอำนาจ พุฒทอง(ต้น)
ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
เทศบาลเมืองชุมแสง อ.ชุมแสง
จ.นครสวรรค์ ๖๐๑๒๐
โทร.๐๘๑-๖๘๐๐๔๗๖
Mail:kun_taton@hotmail.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พรจากท่าน ว.วัชิรเมธี
1. อย่าเป็นนักจับผิด
คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง 'กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก' คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส 'จิตประภัสสร' ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี ' แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข '

> 2. อย่ามัวแต่คิดริษยา
'แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน'
คนเราต้องมี พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า 'เจ้ากรรมนายเวร' ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้องถอดถอน
ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น 'ไฟสุมขอน' (ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน
เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี 'แผ่เมตตา' หรือ ซื้อโคมลอยมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล ่อยให้ลอยไป


> 3. อย่าเสียเวลากับความหลัง
90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ 'ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น'
มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องภาระต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ ' อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน '
' อยู่กับปัจจุบันให้เป็น ' ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี 'สติ' กำกับตลอดเวลา


> 4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ
'ตัณหา'ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ 'ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม'
ทุกอย่างต้องดู ' คุณค่าที่แท้จริง ' ไม่ใช่ คุณค่าเทียม < /FONT>เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกาคืออะไร ? คือไว้ดูเวลาไม่ใช่ใส่เพื่อความโก้หรู
คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือคืออะไร ? คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้จริงของโทรศัพท์
เราต้องถามตัวเองว่า 'เิกิดมาทำไม' คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน ตามหา ' แก่น ' ของชีวิตให้เจอ
คำว่า 'พอดี' คือ ถ้า 'พอ' แล้วจะ 'ดี' รู้จัก 'พอ' จะมีชีวิตอย่างมีความสุข'