ร่วม 3
ปีแล้วที่ฉันได้ลาออกจากงานราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการ
ก่อนกําหนด
เมื่อพบคนรู้จักไม่ว่าจะเป็นญาติมิตรหรือผู้เคยร่วมงานมักถูกถามว่า..
ทําไมรีบลาออกก่อนเวลาตั้ง 5
ปี มีปัญหาอะไรหรือเปล่า ออกมาทํา (งาน) อะไร
วันๆ ทําอะไรบ้าง เหงาไหม
ถึงตอนนี้คิดว่าตัดสินใจถูกหรือผิด เป็นต้น
ฉันก็ตอบเท่าที่โอกาส
เวลาและสิ่งแวดล้อมจะอํานวย หลายครั้งที่ฉันตอบได้ไม่จุใจ
จนกระทั่ง ฤดูลําไยเวียนมาอีกครั้งใน ปี
2554 นี้ อดีตผู้ร่วมงานได้นําลําไย
ที่อร่อยที่สุดมาเยี่ยมพร้อมกับความคิดจากอดีตผู้ร่วมงานท่านหนึ่งมาฝาก
คือ ให้ฉันเล่าถึงชีวิตหลังเกษียณอายุ
ราชการให้ฟังหน่อย
คงอยากเปรียบเทียบหรือใช้บริหารคนใกล้ตัว (ขอแซวหน่อย) พอทราบดังนี้ ฉันก็นึกสนุก
ตกปากรับคํา
เมื่อบรรณาธิการข่าวสุขภาพสัตว์ภาคเหนือเห็นด้วย ฉันก็ขอลองดูสักครั้ง และขอให้ท่านได้ร่วม
ลอง .... อ่านเล่น ๆ ดู
คงใช้เวลาไม่มากนัก
ก่อนจะตอบคําถามข้างต้น
ขอย้อนความเล็กน้อย กล่าวคือ ฉันเคยขอเข้าโครงการเกษียณฯ มาครั้ง
หนึ่งเมื่อปี 2547
แต่ไม่ได้รับอนุมัติ ปี 2549 ฉันได้ขอลาออกแต่เพื่อนผู้หวังดีดึงไว้
(ยังนึกขอบคุณเพื่อนที่แสนดี
ท่านนั้นมาจนทุกวันนี้
เพราะจะเสียผลประโยชน์ด้าน กบข. เนื่องจากไม่มีโครงการเกษียณฯ ก่อนกําหนด
รองรับ) จนกระทั่ง ปี 2551
จึงประสบความสําเร็จในการขอเกษียณฯ ในโครงการดังกล่าว ปัจจุบันจึงมี
สถานภาพเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบํานาญ”
ด้วยเหตุที่ได้คิดจะเกษียณมาหลายปี ความคิดฉันจึงตกผลึก
และมีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจนานมาก
เมื่อแรกที่ฉันคิดจะขอเกษียณฯ พี่ของฉันแนะนําให้เขียนข้อดี-ข้อเสีย
ดูก่อนแล้ววิเคราะห์ว่ารับได้หรือเปล่า
หากจะต้องเสียอะไรบางอย่างไป ฉันได้พบว่า
(1) ถึงเวลาที่ดวงตาของฉันควรได้พักอย่างจริงจังเสียที
เพราะมันประท้วงมาหลายครั้งแล้ว เริ่มจาก
น้ําหล่อเลี้ยงลูกตาแห้ง
วุ้นในตาเริ่มเสื่อม จนสุดท้ายมีอาการค่อนข้างรุนแรง ต้องตรวจเช็คอย่างละเอียด (โชค
ดีที่ไม่มีปัญหาความดันโลหิตสูง
ไขมันในเลือดและเบาหวาน เรื่องจึงยังไม่บานปลาย) แต่กระนั้นความดันลูกตา
ก็สูงติดขอบ ในช่วง 3 ปีหลัง
งานของฉันเน้นการเข้าสู่ระบบมาตรฐาน (ISO 17025) ทั้งเขียน
อ่าน พิมพ์ และ
ตรวจทาน เกิดอาการแพ้คอมพิวเตอร์รุนแรง
จนบางวันมองจอไม่ได้เลย
(2) เมื่อเป็น ส.ว. (ผู้สูงวัย) ทําให้ต้องรับงานบริหารเพิ่มขึ้น
โดยส่วนตัวแล้วเบื่อมาก เห็นควรพิจารณา
กําจัดความเครียดด้วยการลาออกดีกว่า
(3) สมองสั่งการช้าลง ทําให้การคิด
การเคลื่อนไหว การพูด การตัดสินใจ ตลอดจนความกระตือรือร้น
ความอยากรู้-อยากลอง
และประสิทธิภาพความจําลดลง อาจก่อความรําคาญให้ผู้ร่วมงานได้
(4)
แม้ฉันไม่อยู่ ทีมงานที่เหลือก็สามารถปฏิบัติงานได้ ไม่มีปัญหา ช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐได้
แม้จะบรรจุเจ้าหน้าที่เข้ามาใหม่
(5) ควรให้เวลากับตัวเองและญาติมิตร
ที่ผ่านมา ทุกอย่างถูกจํากัดด้วยเวลาธุระส่วนตัวบางเรื่อง
จําเป็นต้องจบโดยสรุปไม่ได้
บางเรื่องถูกทําแบบให้พ้น ๆ ไป บางเรื่องยังไม่ได้จัดการ ฯลฯ การลาออกในวัยที่
ยังพอมีกําลังกาย-กําลังสมองคงจะดีกว่าทอดเวลาออกไป
จะได้หยุดดูและพิจารณาตนเอง ทบทวนสิ่งที่ผ่านมา
วางแผนอนาคตที่เหลืออีกไม่มากนักและที่สําคัญ
จะได้พักผ่อนและดูแลสุขภาพในบั้นปลายให้สามารถช่วย
ตัวเองได้นานเท่านาน
ส่วนข้อเสียที่ต้องรับเต็ม ๆ คือ
รายรับที่หายไปประมาณครึ่งหนึ่ง ฉันก็คิดให้เป็นบวกเสียว่า ดีแค่ไหนที่
ได้เงินเดือนโดยไม่ได้ทํางาน
ช่างโชคดีและควรพอใจเป็นอย่างยิ่ง กรณีนี้ เพื่อนคนหนึ่งบอกว่า เป็นข้าราชการนี้
ดีจังเลย
เมื่อเกษียณไม่ทํางานก็ยังได้รับเงินเดือนอยู่
ฉันชี้แจงข้อเท็จจริงถึงข้อดีของการรับราชการว่า ที่ดีที่สุด
คือ
งานราชการฝึกให้ข้าราชการประหยัดจนเป็นนิสัย
เพราะเงินเดือนข้าราชการและงบประมาณของสํานักงาน
นั้นค่อนข้างจํากัดหากใช้โดยไม่ตรึกตรองให้ดี
คงไม่พอใช้แน่ฉันทํางานราชการเต็มตัว วัน ๆ หมดไปอย่าง
รวดเร็ว จนคนแซวว่า ไม่มีเวลาใช้เงิน
ช่วงตัดสินใจก่อนยื่นเรื่องเข้าโครงการฯ
ฉันก็ทดลองเกษียณฯ ก่อนเกษียณฯ จริง โดยลาพักผ่อน 10
วัน 2-3 วันแรก ฉันหยุดทุกสิ่ง
พักผ่อนเต็มที่ วันที่ 4-6 รู้สึกรําคาญตัวเอง เซ็ง เบื่อ แต่พอ 3 วันสุดท้าย
เริ่มมี
ทิศทางการดําเนินชีวิต
จัดการตัวเองได้ค่อนข้างลงตัว รู้สึกดีขึ้น ๆ จนไม่อยากกลับไปทํางาน
จนได้ผลสรุปว่า
“ลาออกดีกว่า” และแล้วก็เริ่มจดรายการที่อยากทําหลังเกษียณยาวเป็นหางว่าว
แต่ขอสารภาพว่า จนบัดนี้ 3
ปีผ่านไป ไวเหมือนโกหก
ยังทําได้ไม่กี่รายการ แถมเป็นรายการจิ๊บ ๆ หากมีโอกาสจะเล่าให้ฟังต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น